บันทึกครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563
เวลา ( 11.30 - 15.30 น. )
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ แอป Zoom โดยอาจารย์ให้ตอบคำถามท้ายบท9 แล้วส่งมาในไลน์กลุ่มตามเวลาที่กำหนด
คำถามท้ายบท9
4. ใครเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เพราะเหตุใด
ตอบ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้สอน เพราะมีความสำคัญในการช่วยส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กปฐมวัย และเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ทำให้เข้าใจพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กได้ดีที่สุด
7. แฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์กับการวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยอย่างไร
ตอบ แฟ้มสะสมผลงานสามารถวัดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประเมินความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงสะท้อนความสามารถ และ วิธีการทำงานของเด็กได้ทุกขั้นตอนทำให้ทราบถึงพัฒนาการด้านการคิดของเด็กแต่ละคนได้
จากนั้นอาจารย์ให้อธิบายลำดับขั้นพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
1. ขั้นเตรียมงาน (Preparation) เป็นขั้นของการเตรียมตัว การศึกษาปัญหา จัดเตรียมข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงาน ข้อมูลระบุปัญหา ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงตลอดจนความรู้ ความเข้าใจในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมไว้สำหรับการแก้ปัญหา ยอตัวอย่าง เช่น นักประดิษฐ์คิดค้นคนสำคัญของโลก ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) มีความสนในเกี่ยวกับแม่เหล็กกระแสไฟฟ้า จึงทำการเก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้า เกิดเป็นทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้าขึ้น
การเก็บรวบรวมข้อมูลของแต่ละบุคคลนั้นสามารถกระทำได้ในหลายๆวิธีแตกต่างหัน เช่น บางคนชอบฟังผู้อื่นพูด บรรยาย แต่ไม่ชอบการอ่าน บางคนชอบทั้งฟังและอ่าน บางคนชอบสังเกตการกระทำของผู้อื่น (On theJob Training) ในขณะที่บางคนชอบลองทำเองแบบลองผิดลองถูก (Trial Error)
2. ขั้นฟักตัว (Incation) เป็นขั้นของการเก็บสะสม ครุ่นคิด ทบทวนปัญหา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ความรู้ และปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ บางครั้งขั้นตอนนี้อาจเป็นขั้นตอนของความสับสนวุ่นวายกับข้อมูลทั้งเก่าและใหม่ ทกให้ไม่สามารถขมวดความคิดได้ จึงต้องปล่อยความคิดไว้เงียบๆ เพื่อให้เกิดการขบคิดจนกระทั่งได้คำตอบที่ต้องการ ซึ่งระยะของการฟักตัวนี้จะยาวนานเพียงใดจะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นที่จะหาคำตอบ สมาธิ ตลอดจนข้อมูลที่มีอยู่
3. ขั้นจรรโลงใจหรือขั้นความคิดกระจาง (Inspiration or Illumination) เป็นขั้นที่ความสับสนได้ผ่านการเรียบเรียง จัดลำดับและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่างๆ เข้าด้วยกันแล้ว ทำให้เกิดแนวทาง มองเห็นทางในการแก้ปัญหา พบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ความรู้และแนวทางในการแก้ปัญหา สามารถกำหนดสมมติฐานของปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเช่น อาร์คิมิดิส ค้นพบสูตรกลศาสตร์เรื่อง การลอยตัว (Buoyancy) เมื่อลงอาบน้ำในอ่างที่มีน้ำเต็มอยู่ เป็นต้น
4. ขั้นการปรับปรุงหรือขั้นพิสูจน์ (Revision or Verification) เป็นขั้นของการปรับปรุง ปรุงแต่งสิ่งที่ค้นพบให้สมบูรณ์และดียิ่งขึ้น ทำการทดสอบหรือพิสูจน์ในสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ทบทวนจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ พิจารณาผลงานอย่างรอบคอบ เปรียบเทียบผลดีผลเสีย ทดสอบความสัมพันธ์กับคำตอบที่พบถึงความเหมาะสม มีสิ่งที่ต้องปรับปรุงหรือดัดแปลงหรือไม่ การพิสูจน์ความจริงทดสอบจนเป็นที่แน่ใจ แล้วจึงตั้งเป็นกฎเกณฑ์ แนวความคิด หรือวิธีแก้ปัญหาแบบใหม่
self (ประเมินตนเอง) เข้าเรียนตรงตามเวลา
Friend(ประเมินเพื่อน) ตั้งใจฟังอาจารย์ ส่งงานครบตามเวลาที่กำหนด
Teacher(ประเมินอาจารย์) ตั้งใจสอน มาสอนตรงเวลา สอนเข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น