วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 11

บันทึกครั้งที่ 11
วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563
เวลา ( 11.30 - 15.30 น. )

The Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)     

บทบาทของผู้ปกครองกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย
1. สร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย ครอบครัวที่มีบรรยากาศแบบผ่อนคลายเด็กจะรู้สึกเป็นอิสระ
2. การให้ความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ซึ่งเปรียบเสมือนกำแพงที่แข็งแกร่งเป็นโลห์กำบังทุกสิ่งทุกอย่างให้เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
3. การช่วยเหลือและพึ่งพาตนเอง เด็กที่พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูโดยการฝึกให้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง
4. ส่งเสริมความสนใจของเด็ก พ่อแม่ที่คอยเอาใจใส่สังเกตความสนใจของลูกอย่างสม่ำเสมอ
5. เปิดโอกาสให้ซักถาม ตอบคำถาม เพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ช่างสงสัย ชอบซักถามอยู่ตลอดเวลา
6. การแสดงความคิดเห็นร่วมกันในโอกาสต่างๆ
7. จัดบรรยากาสที่ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย

1. มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2. เป็นแหล่งความรู้และมีความรอบรู้ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
3. ความสนใจรอบด้านครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ควรมีความสนใจกว้างรอบด้านสนใจกิจกรรมต่างๆ หลายๆ อย่างและไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ
4. อารมณ์ขัน อารมณ์ขันเป็นลักษณะสำคัญของคนมีสุขภาพจิตดีและช่วยความคิดอ่าน
5. สุขภาพอนามัย สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเป็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับครู
6. คุณสมบัติส่วนตัวของครูสอนเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ ควรเป็นคนที่มีรสนิยมดีการแต่งกายประณีต สวยงาม เหมาะสมกับวัย



การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดส่งเสริมความสร้างสรรค์
1. จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้แบบระดมพลังสมอง (Brainstorming)
2. ให้เด็กเรียนรู้การสร้างสรรค์โดยการลงมือปฏิบัติจริง เน้นการสร้างสภาวะสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดการตอบสนองหลายรูปแบบ
3. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือกำหนดกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้
4. เปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอผลงานทุกคน
5. ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดหลากหลายด้านตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์
6. ส่งเสริมความสามารถที่จะนำไปสู่การคิด การกระทำอย่างสร้างสรรค์



จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทำข้อสอบ และให้ส่งภายในเวลาที่กำหนด ดังนี้

ข้อ 1 ให้นักศึกษานำเสนอสื่อธรรมชาติที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 4 อย่าง ในรูปของแผนที่ความคิด


ข้อ 2 จงอธิบายลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย


ข้อ 3 จงวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์จากเอกสารบทที่ 2








 

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 10

บันทึกครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563
เวลา ( 11.30 - 15.30 น. )

The Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)     


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ แอป Zoom โดยอาจารย์ให้ตอบคำถามท้ายบท9  แล้วส่งมาในไลน์กลุ่มตามเวลาที่กำหนด
คำถามท้ายบท9
4ใครเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก​ เพราะเหตุใด
ตอบ​  พ่อแม่​ ผู้ปกครอง ครูผู้สอน เพราะมีความสำคัญในการช่วยส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กปฐมวัย และเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ทำให้เข้าใจพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กได้ดีที่สุด
7. แฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์กับการวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยอย่างไร
ตอบ แฟ้มสะสมผลงานสามารถวัดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประเมินความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงสะท้อนความสามารถ และ  วิธีการทำงานของเด็กได้ทุกขั้นตอนทำให้ทราบถึงพัฒนาการด้านการคิดของเด็กแต่ละคนได้ 

จากนั้นอาจารย์ให้อธิบายลำดับขั้นพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
1. ขั้นเตรียมงาน (Preparation) เป็นขั้นของการเตรียมตัว การศึกษาปัญหา จัดเตรียมข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงาน ข้อมูลระบุปัญหา ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงตลอดจนความรู้ ความเข้าใจในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมไว้สำหรับการแก้ปัญหา ยอตัวอย่าง เช่น นักประดิษฐ์คิดค้นคนสำคัญของโลก ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) มีความสนในเกี่ยวกับแม่เหล็กกระแสไฟฟ้า จึงทำการเก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้า เกิดเป็นทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้าขึ้น
            การเก็บรวบรวมข้อมูลของแต่ละบุคคลนั้นสามารถกระทำได้ในหลายๆวิธีแตกต่างหัน เช่น บางคนชอบฟังผู้อื่นพูด บรรยาย แต่ไม่ชอบการอ่าน บางคนชอบทั้งฟังและอ่าน บางคนชอบสังเกตการกระทำของผู้อื่น (On theJob Training) ในขณะที่บางคนชอบลองทำเองแบบลองผิดลองถูก (Trial Error)
            2. ขั้นฟักตัว (Incation) เป็นขั้นของการเก็บสะสม ครุ่นคิด ทบทวนปัญหา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ความรู้ และปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ บางครั้งขั้นตอนนี้อาจเป็นขั้นตอนของความสับสนวุ่นวายกับข้อมูลทั้งเก่าและใหม่ ทกให้ไม่สามารถขมวดความคิดได้ จึงต้องปล่อยความคิดไว้เงียบๆ เพื่อให้เกิดการขบคิดจนกระทั่งได้คำตอบที่ต้องการ ซึ่งระยะของการฟักตัวนี้จะยาวนานเพียงใดจะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นที่จะหาคำตอบ สมาธิ ตลอดจนข้อมูลที่มีอยู่
            3. ขั้นจรรโลงใจหรือขั้นความคิดกระจาง (Inspiration or Illumination) เป็นขั้นที่ความสับสนได้ผ่านการเรียบเรียง จัดลำดับและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่างๆ เข้าด้วยกันแล้ว ทำให้เกิดแนวทาง มองเห็นทางในการแก้ปัญหา พบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ความรู้และแนวทางในการแก้ปัญหา สามารถกำหนดสมมติฐานของปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเช่น อาร์คิมิดิส ค้นพบสูตรกลศาสตร์เรื่อง การลอยตัว (Buoyancy) เมื่อลงอาบน้ำในอ่างที่มีน้ำเต็มอยู่ เป็นต้น
            4. ขั้นการปรับปรุงหรือขั้นพิสูจน์ (Revision or Verification) เป็นขั้นของการปรับปรุง ปรุงแต่งสิ่งที่ค้นพบให้สมบูรณ์และดียิ่งขึ้น ทำการทดสอบหรือพิสูจน์ในสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ทบทวนจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ พิจารณาผลงานอย่างรอบคอบ เปรียบเทียบผลดีผลเสีย ทดสอบความสัมพันธ์กับคำตอบที่พบถึงความเหมาะสม มีสิ่งที่ต้องปรับปรุงหรือดัดแปลงหรือไม่ การพิสูจน์ความจริงทดสอบจนเป็นที่แน่ใจ แล้วจึงตั้งเป็นกฎเกณฑ์ แนวความคิด หรือวิธีแก้ปัญหาแบบใหม่

Assessment (การประเมิน)

self (ประเมินตนเอง)           เข้าเรียนตรงตามเวลา 


Friend(ประเมินเพื่อน)     ตั้งใจฟังอาจารย์ ส่งงานครบตามเวลาที่กำหนด 


Teacher(ประเมินอาจารย์)   ตั้งใจสอน มาสอนตรงเวลา สอนเข้าใจ 

 

ครั้งที่ 9

บันทึกครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563
เวลา ( 11.30 - 15.30 น. )

The Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)     

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ แอป Zoom โดยอาจารย์สอนเนื้อหาดังนี้
การทำงานของสมอง
สมองเปรียบเสมือนแผงสวิซส์ฟฟ้าที่สลับซับซ้อนอยู่ในกระโหลกศรีษะ เป็นไขมัน มีเยื่อหุ้มอยู่ด้านนอกบรรจุเซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านเซลล์ เรียกว่า นิวโรนความสำคัญของการพัฒนาสมอง- เป็นรากฐานของการพัฒนาสมองทั้งปวง- เป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน- เป็นช่วงเวลาสำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง- เป็นลงทุนที่คุ้มค่า- สังคมต้องการคนดีและคนมีความคิดสร้างสรรค์ คนเก่งมีความสามารถฉลาด ทางอารมณ์- มนุษย์ใช้ประโยชน์ของสมองเพียง 10%- สมองได้ถูกกำหนดให้โง่โครงสร้างและการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
1. สมองส่วนหน้าทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ การจำ การเรียนรู้ ความฉลาดความคิดอย่างมีเหตุผล ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขาและใบหน้า2. สมองส่วนข้าง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกสมองซีกซ้ายรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางขวา สมองซึกขวารับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางซ้าย (จากมือ/แขน/เท้า)3. สมองส่วนขมับ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน และถ้าลึกเข้าไปจะทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาว

Assessment (การประเมิน)

self (ประเมินตนเอง)           เข้าเรียนตรงตามเวลา 


Friend(ประเมินเพื่อน)     ตั้งใจฟังอาจารย์ 


Teacher(ประเมินอาจารย์)   ตั้งใจสอน มาสอนตรงเวลา สอนเข้าใจ 

 

ครั้งที่ 8

บันทึกครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563
เวลา ( 11.30 - 15.30 น. )

The Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)     

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ แอป Zoom โดยอาจารย์ได้มอบหมายงานคู่ให้หากิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและวิเคราะห์กิจกรรมดังกล่าว ดิฉันทำกิจกรรมคู่กับ นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้ ทำกิจกรรม ดังนี้

ชื่อกิจกรรม การแยกประเภทเมล็ดพืชความคิดรวบยอด  เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ดวัตถุประสงค์ หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ
          1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย ลักษณะ
          2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี และความ หยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัสดุอุปกรณ์          1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
          2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช
          3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)
การจัดกิจกรรม
         1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง         2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น         3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขาได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น         4. อภิปรายเกี่ยวกับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า          “ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”          “นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”          “นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น กลุ่มได้ไหม”
   

Assessment (การประเมิน)

self (ประเมินตนเอง)           เข้าเรียนตรงตามเวลา ส่งงานครบตามเวลาที่กำหนด

Friend(ประเมินเพื่อน)     ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก

Teacher(ประเมินอาจารย์)   สอนเข้าใจ 

 

ครั้งที่ 7

บันทึกครั้งที่ 7
วันศุกณ์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563
เวลา ( 11.30 - 15.30 น. )

The Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)     

เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด มหาวิทยาลัยจึงประกาศงดการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัย อาจารย์จึงให้นักศึกษาเรียนในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ แอป Zoom อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน แล้วมอบหมายงานให้ทำ โดยให้ส่งงานภายในเวลา 20.00 น.
   






Assessment (การประเมิน)

self (ประเมินตนเอง)           เข้าเรียนตรงตามเวลา ส่งงานครบตามเวลาที่กำหนด

Friend(ประเมินเพื่อน)     ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก

Teacher(ประเมินอาจารย์)   สอนสนุกเข้าใจ มีตัวอย่างให้ได้ดู

 

ครั้งที่ 6



บันทึกครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563
เวลา ( 12.30 - 15.30 น. )

The Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)     



อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่นและให้นักศึกษาลากเส้นจากหัวกระดาษไปยังสุดกระดาษโดยไม่ยกดินสอ แล้วเติมลวดลายพื้นที่ว่าง โดยใช้สีที่แตกต่างกัน จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน ออกแบบท่าทาง Body Purcussion ประกอบเพลง ปฐมวัยมาแล้ว โดยมีเนื้อร้องดังนี้ 

"ปฐมวัยมาแล้ว มาแล้วปฐมวัยน้องพี่
ไหน ไหน ไหน ปฐมวัยน้องพี่ ปฐมวัยน้องพี่ ไม่มีร้าวราน 
โลหิตสายเดียวกลมเกลียวกันไว้นานๆ 
 อย่าให้แยกแตกไปเป็นสายธาร อย่าให้แยกแตกไปเป็นสายธารา"





Assessment (การประเมิน)

self (ประเมินตนเอง)           เข้าเรียนตรงตามเวลา มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

Friend(ประเมินเพื่อน)     ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก

Teacher(ประเมินอาจารย์)   สอนสนุก แต่งกายเรียนร้อยเหมาะสม

 

ครั้งที่ 5

บันทึกครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
เวลา ( 12.30 - 15.30 น. )

The Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)     

 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบสื่อของเล่นคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
และให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3 คน เลือกของเล่นคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของคนในกลุ่มมา 1 อย่างและให้วางแผนกันโดยเขียนวิธีการทำส่งอาจารย์ 

กลุ่มดิฉันทำสื่อ โมเดลสร้างสรรค์  

อุปกรณ์ ได้แก่
กระดาษแข็งสีต่างๆ 
กรรไกร 
ไม้บรรทัด 
ดินสอ

วิธีทำ 
วาดรูปทรงต่างๆ ลงบนกระดาษแข็งสีต่างๆ แล้วตัดตามรอย จากนั้นตัดขอบรูปทรงทุกด้านเพื่อนำมาเสียบเข้ากันได้และต่อเป็นโมเดลตามจินนาการ


Assessment (การประเมิน)


self (ประเมินตนเอง)           เข้าเรียนตรงตามเวลา มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

Friend(ประเมินเพื่อน)     ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก

Teacher(ประเมินอาจารย์)   สอนสนุก แต่งกายเรียนร้อยเหมาะสม